วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีแซนโฎนตา

ประเพณีแซนโฎนตา







  เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีของชาวเขมร   ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ  สะท้อนให้เห็นความรัก ความผูกพัน ความกตัญญูของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ และชุมชน โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม 14 ค่ำเดือน  10 ของทุกปี เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือน 10 ลูกหลาน ญาติพี่น้องที่ไปประกอบอาชีพหรือตั้งถิ่นฐานที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล จะเดินทางกลับมารวมญาติเพื่อทำพิธี"แซนโฎนตา"
  
 นิยามศัพท์เฉพาะ
                 - แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง
                -โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยายและตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่าโดนตาแต่ผู้เขียนเห็นว่ารูปคำจะเหมือนภาษาไทยที่หมายถึง  มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปกระทบกับดวงตาหรือ เป็นคำใช้แทนคำว่า ถูกตา ถูกใจ เช่น โดนตาโดนใจกรรมการซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิด จึงเปลี่ยนจากโดนตาเป็น โฎนตา
               ประเพณีแซนโฎนตา จึงหมายถึง ประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ จัดเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยซึ่งพูดภาษาเขมร มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน

พิธีกรรมแซนโฎนตา
1.  ประวัติและความหมาย
                ประเพณี ทำบุญกลางเดือน  10   หรือประเพณีสารทของกลุ่มวัฒนธรรมเขมรในเขตจังหวัดสุรินทร์  ศรีสะเกษ   และบุรีรัมย์นั้นมีประเพณีทำบุญวันสารทเช่นเดียวกันกับกลุ่มวัฒนธรรมใน ภูมิภาคอื่นๆ    แต่มีจุดประสงค์ที่จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วโดย   เรียกว่า   “แซนโดนตา”  ( แซน-เซ่นสรวงโดน-โคตรเง่าตา-ตา )  ส่วนประเพณีแซนโดนตาจะเรียกสารทเล็กว่า  “เบ็นตูจเรียกสารทใหญ่ว่า  “เบ็นทม”   คำว่า  “เบ็น”  มาจากภาษาบาลีว่า  “บิณฑะ”  แปลว่า  ก้อนข้าว  ตูจ  แปลว่า  เล็ก   ทม  แปลว่า  ใหญ่

2.  จุดมุ่งหมายการแซนโฎนตา
                ความ เชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษนั้น  ดูจะมีเค้ามาจากศาสนาพุทธที่เชื่อว่า    เมื่อผู้ตายตายไปแล้วจะแบ่งออกเป็น  2  กลุ่ม คือกลุ่มที่ทำดีจะได้ไปสวรรค์  กับกลุ่มที่ทำชั่ว  ทำบาปก็จะตกนรกเป็นสัตนรก ผี  หรือเปรตพวกเหล่านี้จะได้รับทัณฑ์ทรมานมากน้อยต่างกัน  เมื่อถึงแรม  1  ค่ำ  เดือน  10  พระยายมจะอนุญาตให้ผีเหล่านี้เดินทางมาเยี่ยมลูกหลานได้  ผีจะพักอยู่ที่วัด และคอยดูทางว่าลูกหลานของตนจะมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ตนบ้างหรือไม่    ถ้าลูกหลานมาทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ผลบุญนี้พวกตนก็ได้รับ และเมื่อได้อิ่มหนำสำราญก็จะพากันอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข  แต่ถ้ารอแล้วไม่เห็นลูกหลานมาทำบุญ  ก็จะสาปแช่งไม่ให้มีความสุขความเจริญ
                จาก ตำนานความเชื่อของชาวบ้านดังกล่าว จึงพอสรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการแซนโดนตา  ก็คือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว 


3.  ระยะเวลาในการทำบุญ
                พิธี แซนโดนตา  หรือการเซ่นผีปู่ย่าตายาย  หรือผีบรรพบุรุษของชาวเขมรที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่วงศาคณาญาติที่ล่วง ลับไปแล้วได้แบ่งออกเป็นวันเบ็นตูจ และวันเบ็นทม  คือ  สารทเล็ก  และสารทใหญ่ โดย   เบ็นตูจ  จัดกันในวันขึ้น  14-15  ค่ำ  เดือน  10  และ  เบ็นทม  จัดกันในวันแรม  14-15  ค่ำ  เดือน  10  แต่กระนั้นก็ตาม ช่วงระยะเวลาระหว่างวันเบ็นตูจถึงวันเบ็นทมนั้น    ชาวเขมรก็ยังจัดอาหารมาทำบุญที่วัดต่อเนื่องกันมิได้ขาด

4.  สถานที่ทำพิธีแซนโฎนตา
                จะ จัดทำบุญที่วัด (ทำบุญถวายจังหันพระสงฆ์) และนำอาหารเครื่องเซ่นมาเซ่นวิญญาณบรรพบุรุษที่ในเรือนบ้านของเจ้าพิธีที่ จัดไว้  หรือที่ศาลโดนตา   คือศาลผีปู่ตา ซึ่งเป็นศาลที่อยู่ของวิญญาณบรรพบุรุษประจำหมู่บ้าน หากหมู่บ้านใดไม่มีศาลโฏนตา  ก็จะจัดทำพิธีแซนโฎนตาที่ในวัด






5.  เครื่องแซนโฎนตา (เครื่องเซ่นผีปู่ตา-เขมร)
               ในเบ็นตูจ และเบ็นทมนั้นสิ่งของที่ใช้ในพิธีจะเหมือนกันคือ  ทุกบ้านจะทำขนม  ข้าวต้ม  กระยาสารท  ข้าวปลาอาหาร  พร้อมกับเหล้าใส่ถาดนำมารวมกันเพื่อประกอบพิธี  “แซนโฏนตา”   
ซึ่งพอจะสรุปอุปกรณ์และเครื่องเซ่นที่ใช้ในพิธีกรรมได้  ดังนี้
                1.   ข้าวต้ม   ข้าวสุก   กล้วย   อ้อย   เหล้า    อาหารคาว   และพวกแกงต่างๆ
                2.  ขนมหวานต่างๆ   เช่น   ขนมชั้น   ขนมกง  ทองหยิบ  ฝอยทอง  เป็นต้น
                3.   หมากพลู   ยาสูบ  หรือบุหรี่
                4.   กระเชอ  1  สำรับ  หรือภาชนะอย่างอื่น
                5.  ธูป  1  ดอก  เทียน  1  เล่ม
                6.   บายเบ็น   (บายข้าว  บายเบ็นทำจากข้าวเหนียว


ที่สุกแล้วผสมกับงาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
       แล้วปั้นเป็นก้อนๆ  วางบนถาด หรือจาน)
                7.   เงิน
                8.   ใบตอง
                9.    จาน  หรือถาด
                10.  เรือ หรือกระทง  (ที่ทำจากกาบกล้วยหรือกาบหมากก็ได้)  
                11.  อาจมีกระดูกของผู้ล่วงลับไปแล้วใส่โกศมาวางร่วม
                12.  อื่นๆ   (แล้วแต่บางหมู่บ้านอาจมีสิ่งของใช้ต่างๆ  กันไป)



 6.  พิธีกรรม
                ใน เย็นวันขึ้น  14  ค่ำ  ชาวบ้านจะนำเครื่องแซนโฏนตาไปวางบนกลางผ้าขาว ซึ่งปูลาดไว้กลางห้องเรือนที่กลางหมู่บ้าน  หรือที่ศาลโดนตาประจำหมู่บ้าน  บางแห่งนำไปรวมกันที่ศาลาวัดที่ทำพิธีแซนโฏนตา  แล้วพวกลูกหลานมานั่งล้อมวงอยู่รอบๆ  ข้างผ้าขาวพร้อมกันแล้วจุดธูปเทียนบูชา   เอ่ยชื่อปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไป  เชิญให้มากินเครื่องเซ่น  ทั้งที่ตายไปนานแล้ว  และไม่รู้จักชื่อก็นึกเชิญในใจด้วย  ทางเจ้าพิธีนำเอาสุรามารินใส่แก้ว  หรือจอกพรมไปตามสำรับอาหาร  ปากก็กล่าวอันเชิญผีปู่ย่าตายายมารับประทานอาหาร  เมื่อได้เวลาก็จุดยาสูบวางไว้ สักครู่ใหญ่  สมมติว่า  กินเสร็จแล้วจะแบ่งข้าวปลาอาหาร  หมากพลู  บุหรี่อย่างละเล็กละน้อยใส่ห่อกระดาษ  หรือใบตองแล้วเหวี่ยงไปไกลๆ   เรียกว่า  “ปะจีร”   (ออกไปเสีย)  เชื่อว่าลูกหลานได้พาห่อข้าวปลาอาหารนี้ฝากไปให้กินระหว่างทาง หรือไปฝากผู้ที่ไม่ได้มารับเครื่องสังเวยในครั้งนี้   จากนั้นจึงยกเครื่องเซ่นออกจากที่ตั้งได้  แล้วเลี้ยงกันในระหว่างหมู่ญาติสู่กันกิน  คนเฒ่าคนแก่ก็อวยชัยให้พรลูกหลานมีการคุยกันเรื่องต่างๆ  นาๆ   เช่น  เรื่องการทำมาหากิน  การเล่าสารทุกข์สุกดิบสู่กันฟัง พอสมควรแก่เวลาก็แยกย้ายกันกลับบ้าน  โดยไม่นำข้าวของส่วนกลางกลับบ้าน  เรียกว่า  “เบ็นตูจ



                รุ่งเช้ามืดวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  10  ก็นำภัตตาหารไปทำบุญที่วัด  พระภิกษุให้พร  แล้วเลี้ยงพระ  หลังจากนั้นอาจจะมีเทศน์เรื่อง อานิสงส์แซนโฏนตา  หรือประวัติความเป็นมาของพิธีสารท  ตามแนวพุทธ  ชาวบ้านกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่วงศาคณาญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  ทำเช่นนี้อยู่ทุกวันจนถึงวันแรม  14  ค่ำ 

            







         ตอนเย็นวันแรม  14  ค่ำ  เดือน  10   เป็นพิธีใหญ่ เรียก  “เบ็นทม”  ชาวบ้านจะเตรียมการคล้ายเบ็ญตูจ  สิ่งของที่ใช้ในงานก็เหมือนกับเบ็นตูจทุกอย่าง  แต่ทำยิ่งใหญ่กว่า  เมื่อเตรียมเรียบร้อยชาวบ้านจะพากันหาบคอน  จุดใต้  จุดคบ หรือจุดเทียน  มารวมกัน เดินไปก็ร้องตะโกนไปว่า  “โมเวยโดนตาๆ  ”       ( มาเด้อ ผีปู่ย่าตายาย )   “โกนเจายัวบาย  ซ้อมสลอโมจูนโอยโฮบ”   (ลูกหลานนำข้าวปลาอาหารมาส่งให้รับประทาน)   ส่วนผู้ร่วมพิธีต่างก็จะตะโกนร้องเรียกให้ผีปู่ย่าตายายมารับประทานอาหารกัน ดังเซ็งแซ่อยู่  การตะโกนจะดังกันเซ็งแซ่ อาจมีถ้อยคำอื่น แต่มีนัยเช่นเดียวกัน และมีวงดนตรีปี่พาทย์บรรเลงอยู่  แล้วนิมนต์พระภิกษุสวดสูตรต่างๆ   เกี่ยวกับเปรต  มี  “ปราถวสูตร”  และ  “อาฏานาฏิยสูตร”  เป็นต้น  เมื่อท่านสวดจบในช่วงหนึ่งๆ   ก็จะร้องตะโกน โมเวยโดนตาๆ  ”  เสียงนี้จะดังกระหึ่มขานรับกันทั่วบริเวณ  ช่วงนี้ก็จะจุดธูปเทียน  ทำพิธี  โดยรินเหล้าเทไปตามพื้นและพูดเรียก โดนตาซึ่งชาวบ้านจะพากันขานรับ  “โมโวยโดนตา”  จากนั้นกรรมพิธีต่างๆ  ก็จะเหมือนกับเบ็นตูจ  พิธีในช่วงเย็นก็มีเท่านี้





                เช้ามืดแรม  15  ค่ำ  เดือน  10  ชาวบ้านจัดเตรียมสำรับกับข้าว  และข้าวของที่กองรวมกันไว้ตั้งแต่เมื่อคืน  นำไปถวายพระภิกษุพร้อมทั้งอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  นิมนต์พระมาสวดโดยนั่งเป็นวงกลมรอบข้าวของที่นำมารวมกัน  ผู้นำภาชนะข้าวของมา  จุดธูปเทียนอย่างละดอกเสียบลงที่จาน  “บายเบ็น”  เพื่อระลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว พระภิกษุ  1  รูป จะเทศน์  1 กัณฑ์  เกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีนี้  เมื่อพระท่านสวดเสร็จแล้วก็นำกระเชอที่ใส่ของนั้นไปเทที่ลานวัด  โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ล่วงลับมารับของเหล่านั้น   ซึ่งชาวบ้านและเด็กๆ   นั่นเองจะเข้ามายื้อแย่งกันเป็นที่สนุกสนาน   และเมื่อเสร็จพิธีพระภิกษุจะฉันภัตตาหารเช้า   ถือว่าเสร็จพิธีแซนโฏนตา   สิ่งของที่เหลืออีกส่วนหนึ่ง  เช่น  ข้าวต้มที่ทำจากใบมะพร้าว  (ข้าวต้มลูกโยน)  พระภิกษุจะนำมาปิ้งในวันรุ่งขึ้น หรือในคืนนั้นเลยแล้วก็แบ่งญาติโยมนำกลับไปรับประทาน  ในบางหมู่บ้านตอนเย็นของวันแรม  15  ค่ำ  อาจนิมนต์พระมาสวดอีกครั้งหนึ่งก็ได้


                บางหมู่บ้านอาจมีพิเศษออกไป คือมีการลอยเรือกระทงส่งตอนเวลาก่อนสว่าง  เป็นการส่งตายาย  คือนำเอาเรือกระทงกาบกล้วย  หรือกาบหมาก  ที่เตรียมไว้บรรจุข้าวปากหม้อ (เท่ากับผลแรกได้ของข้าวสุกในหม้อนั้น)  กระยาสารท (ผลแรกได้ของพืชพันธุ์ธัญชาติ )  และขนมอื่นๆ  ส้มสูกลูกไม้ใส่ลงไปในกระทง  กับมีเครื่องเสบียงกรัง  เช่น  กะปิ  น้ำปลา  พริก  หอม  กระเทียม  เป็นต้น    แล้วเอาไม้มาทำเป็นพายเล็กๆ  สองเล่มติดไปกับกระทง  จุดธูปเทียนปักและติดไว้ในกระทง  แล้วปล่อยให้ลอยน้ำไป    ถ้าหมู่บ้านนั้นอยู่ห่างแม่น้ำลำคลองที่มีน้ำไหลก็จะนำไปวางไว้ยังทางสาม แพร่ง  พร้อมกับกล่าวขณะส่งกระทงโดยมีความว่า  “ ขอให้ไปยังทุ่งที่ท่านอยู่  ไปสู่เขาใต้หินใต้ผา  ซึ่งเป็นที่อยู่ของท่าน  ไปเถิดกลับไปเถิด”  เป็นอันเสร็จพิธี


7.  ปรัชญาธรรมจากพิธีแซนโฎนตา  8  ประการ
                1)  ปรัชญาธรรมจากน้ำ  (ที่พราหมณ์ใช้ชำระล้างร่างกายก่อนจะรับเครื่องไทยทาน)   คุณลักษณะของน้ำ  5  ประการ คือ
                               1.  มีปกติใสสะอาด  หมายถึง  โดยปกติของน้ำจะใสสะอาด ไม่ขุ่น ไม่กระเพื่อม ดังปัญญาชนละการพูดโกหกหลอกลวง  พูดแต่สิ่งที่มีประโยชน์  มีมารยาทผู้ดี
                               2.  มีความเย็น  หมายถึง  โดยปกติของน้ำจะให้ความเย็น ขจัดความร้อนทางกาย  ดังปัญญาชนผู้มีความเมตตา  มีความอดทน  สงบเสงี่ยมเจียมตัว  ไม่เบียดเบียนใคร  ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมโดยทั่วไป
                            3.  ชำระสิ่งสกปรก  หมายถึง  โดยปกติของน้ำสามารถชำระล้างสิ่งสกปรกโดยทั่วไปได้  ดังปัญญาชนจะอาศัยอยู่ที่ไหนก็ทำตนให้เป็นประโยชน์ในที่นั้นๆ  คำนึงถึงประโยชน์ผู้อื่นเป็นหลักโดยไม่เห็นแก่ตัว  
                              4.  มวลชนต้องการ  หมายถึง  โดยปกติของน้ำเป็นที่ต้องการของผู้คน เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน  ดังปัญญาชนผู้ปฏิบัติตนดีแล้ว  มีคุณสมบัติพร้อมแล้ว  จะเป็นที่ต้องการและมีคุณประโยชน์ต่อสังคม  
                               5.  มีคุณประโยชน์  หมายถึง  โดยปกติของน้ำย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้อุปโภค  บริโภคจริงๆ  ดังปัญญาชนผู้ไม่ทำลาย  ยึดถือผลประโยชน์ของส่วนรวม  และไม่ทำความชั่วเพื่อจะไม่ให้สังคมเศร้าหมอง  ไม่เกิดผลกระทบต่อส่วนรวม

                2)  ปรัชญาธรรมจากพระจันทร์  (ในวันข้างขึ้น)  คุณลักษณะของพระจันทร์ มี  5  ประการ คือ
                              1.   ย่อมส่องแสงสว่างในสกุลปักษ์  หมายถึง  ปัญญาชนผู้เจริญด้วยกุศลธรรมความดี  ผู้ประพฤติตนถูกต้องดีงามแล้ว ความดีนั้นจะส่งผลให้เป็นสุข  ผู้อยู่ใกล้ก็จะได้รับความร่มเย็นเป็นสุข ด้วย                                                                                                                                                                                                                                                
                               2.  เป็นนักษัตรใหญ่ยิ่งอย่างหนึ่ง  หมายถึง  ปัญญาชนผู้เอาฉันทะ คือความพอใจที่เป็นหัวหน้าแห่งคุณธรรมทั้งหลาย  สร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ  พอใจที่จะเรียนรู้  พอใจที่จะทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น  
                               3.  ย่อมฉายรัศมีในเวลากลางคืน  หมายถึง  ปัญญาชน  ผู้มีกาย  วาจา  และใจเที่ยวไปอย่าง    สงบ  สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ไม่เหลวไหล  ยึดติดข้องเกี่ยวกับกิเลสทั้งหลาย
                            4.  มีวิมานเป็นธง  หมายถึง  ปัญญาชนผู้มีศีลเป็นเป้าหมาย เอาศีลเป็นเครื่องดำเนินชีวิต  เป็นพื้นฐานแห่งการดำรงตนอยู่ในสังคม  ทำให้สังคมมีความสงบสุข
                              5.  ชาวโลกย่อมปรารถนาให้ส่องแสงฉายรัศมีอยู่เนืองนิตย์   ดังปัญญาชนผู้ที่มวลชนต้องการแล้วรับคำความต้องการนั้นๆ  คนดีเป็นสิ่งที่สังคมต้องการ คนดีไปอยู่ที่ไหนก็เป็นคุณประโยชน์ให้กับที่นั้นๆ  ดังนั้นสังคมจึงต้องการคนดี

                 3)  ปรัชญาธรรมจากการปะจีร (พิธีกรรม)
                                            การปะจีร  หมายถึง การที่ผู้ทำพิธีได้นำเครื่องแซนโฏนตาอย่างละเล็ก อย่างละน้อยมาห่อรวมกันกับกระดาษ หรือใบตองแล้วเหวี่ยงไปไกลๆ   เชื่อว่าเป็นการฝากข้าวปลาอาหารนี้ให้แก่ผีตายายไปกินระหว่างทาง หรือไปฝากผีตายายผู้ที่ไม่ได้มาในครั้งนี้ หลังจากเสร็จพิธีแล้วนั้น  ปรัชญาธรรมจากการปะจีร  2  ประการ คือ
                                            1.  ความเป็นผู้มีความกตัญญู  หมายความว่า  เราซึ่งเป็นลูกหลานนั้น เมื่อได้ดิบ ได้ดี มีกิน  มีใช้แล้วก็ไม่ควรลืมบุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง คือบรรพบุรุษปู่ย่าตายายที่ให้กำเนิดเราขึ้นมา  มีสิ่งใดก็ควรที่จะได้ตอบแทนท่าน  เป็นคนกตัญญูรู้คุณ
                              2.  การรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  หมายความว่า  เมื่อเรามีโอกาสได้รับ  ได้มีสิ่งใดในสิ่งที่ผู้อื่นไม่มีโอกาสได้มารับร่วมด้วยกับเรา  ได้มีเช่นเรา  เราก็ควรคิดถึงเขา แบ่งปันสิ่งที่เราได้รับแก่ เขาด้วย
              4)  ปรัชญาธรรมจากนา  (จุดมุ่งหมาย สถานที่)  คุณลักษณะ  3  ประการ คือ
                                1.  ย่อมมีเหมืองสำหรับไขน้ำ
                               2 . มีคันเพื่อกั้นน้ำไว้เพื่อเลี้ยงข้าวกล้า
                              3.  สมบูรณ์ด้วยรวงข้าวอันงอกงาม  ทำให้เจ้าของเกิดความชื่นชมยินดี   เหตุว่าพืชพันธุ์ที่หว่านแม้น้อยก็เกิดผลมากมาย  เปรียบได้ดัง  ผู้ปฏิบัติต้องทรงคุณสมบัติอันเทียบได้กับองค์คุณทั้ง  3  ของนานั้น คือ
                              1.  ต้องเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยเหมือง  คือ สุจริตธรรม  และข้อปฏิบัติน้อยใหญ่
                             2.  ต้องเป็นผู้มีคัน  คือ ความละอายบาป  เพื่อป้องกันสามัญคุณไว้
                              3.  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความหมั่นให้เกิดผลอันไพบูลย์แก่พวกทายกทายิกา  ยังความร่าเริงให้เกิดขึ้น  ถึงน้อยก็ได้ผลมาก
ดังเถรภาษิตที่ พระอุบาลี  กล่าวไว้ว่า  อันพุทธบุตรย่อมเป็นเช่นเดียวกับนา  มีความหมั่น
ผลิผลอันไพบูลย์  เหตุนี้จึงเป็นเนื้อนาอันเลิศ
5)  ปรัชญาธรรมจากข้าว  พืชพรรณธัญหาร  (อุปกรณ์เครื่องเซ่น จุดมุ่งหมาย)  2  ประการ คือ
                            1. แม้มีปริมาณน้อย   แต่เมื่อได้หว่านไว้ในเนื้อนาอันดี   และฝนโชยอยู่เนือง ๆ   พืชนั้นก็งอกงาม และให้ผลมากมาย
                              2.  เมื่อหว่านลงในนาที่แผ้วถางดีแล้ว  ย่อมงอกงามโดยเร็ว
      เปรียบได้ดัง  ผู้ปฏิบัติต้องทรงคุณสมบัติอันเทียบได้กับองค์คุณทั้ง  2  ของพืชนั้น คือ
                              1.  ประกอบด้วยศีล รักษากาย  และวาจาให้เรียบร้อย เมื่อรักษาศีลดีแล้ว ย่อมเป็นปฏิปทาที่สามารถให้ผลมากมาย นับแต่มนุษย์สมบัติ  สวรรค์สมบัติ  และเป็นปัจจัยให้ได้นิพพานสมบัติ
                              2.  จงปล่อยใจไปในเนื้อที่ที่ดี   กล่าวคือ สติปัฏฐาน  4  พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงจนได้ความสงบใจ และเกิดปัญญา ซึ่งเป็นเหตุนำมาซึ่งผลดีงามโดยฉับพลัน ดังวจนะประพันธ์ที่ พระอนุรุทธเถรราชเจ้า กล่าวไว้ว่า พืชที่หว่านลงในเนื้อนาอันดีย่อมงอกงามและผลแห่งพืชนั้นย่อมยังชาวนาให้ ยินดีฉันใด จิตเมื่อผู้ประกอบความเพียรชำระดีแล้ว ก็ย่อมเจริญในนา  คือ  สติปัฏฐาน  4  ฉันนั้น
                6)  ปรัชญาธรรมจากขนมกระยาสารท  (อุปกรณ์เครื่องเซ่น)  คุณลักษณะ  3  ประการ คือ  
                               1.  มีความหอมหวาน  ในความหอมหวานของกระยาสารทนั้นเปรียบได้ดัง ความดีที่ผู้ประพฤติปฏิบัติได้รับคือ  มีผู้นิยมชมชอบ  ผู้ใดพบเจอก็อยากที่คบหาเหมือนดัง ความหอมหวานของกระยาสารทที่เชิญชวนให้คนอยากลิ้มลอง
                              2.  มีความสดใหม่  จากส่วนประกอบที่ได้จากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในครั้งแรกของฤดูกาลเปรียบได้ ดัง ความใหม่หมดจดทางกาย และใจของผู้ที่ตั้งใจเผชิญชีวิตใหม่หลังจากได้ระลึกถึงชีวิตที่ผ่านไปใน ครึ่งปีที่ผ่านมา
                            3.  มีความเหนียว  ในความเหนียวของกระยาสารทที่ยึดส่วนผสมคือ  ถั่ว  งา  มะพร้าว  ข้าวเม่า  ข้าวตอก  เปรียบได้ดังกับ การทำบุญวันสารทที่เป็นการรวมญาติพี่น้องให้ได้มาทำบุญร่วมกันเป็นคล้ายดัง สายใยทำให้เกิดความสามัคคี เกิดความมั่นคงในวงศ์สกุล
                7)  ปรัชญาธรรมจากเรือ/กระทง  (อุปกรณ์เครื่องเซ่น)  คุณลักษณะ  3  ประการ คือ
                              1.  ย่อมพาคนให้ข้ามไปถึงฝั่งได้
                            2.  ย่อมทนทานต่อกำลังคลื่นลมที่มากระทบ
                            3.  ย่อมแล่นไปได้ในมหาสมุทรอันลึกซึ้งไม่มีที่สิ้นสุด
ผู้ปฏิบัติต้องกระทำตนให้เทียบได้กับองค์ทั้ง  3  ของเรือ นั้น คือ
                              1.  รื้อ  คน  สัตว์  ในมนุษย์โลก  และเทวโลกให้ข้ามถึงฝั่งด้วยความพร้อมเพรียงแห่งคุณธรรม  คือ  อาจารศีลคุณ  และวัตรปฏิบัติ
                              2.  อดกลั้นต่อกำลังแห่งกิเลส  คือ โลกธรรม  8  ประการ ดุจเรือทนทานต่อระลอกคลื่นฉันนั้น
                             3.  รอบรู้ซึ่งจตุราริยสัจ อันมี ปริวัต  3  อาการ  12  และขวนขวาย   ซึ่งบารมีธรรมอันจะข่มขี่ซึ่งสัญญา  ดุจนาวาแล่นไปในนาวามหาสมุทรไม่มีภัยฉะนั้น
ดังพุทธประพันธ์ภาษิตว่า  ภิกษุทั้งหลายเมื่อท่านจะคิดว่า นี้ทุกข์  นี้เหตุแห่งทุกข์  นี้ความดับทุกข์  นี้หนทางดับทุกข์
8)  ปรัชญาธรรมจากโภชนะ  (อุปกรณ์เครื่องเซ่น)  คุณลักษณะ  3  ประการ คือ
                             1.  เป็นของบำรุงสัตว์
                            2.  ให้เกิดกำลัง
                            3.  สัตว์ทุกจำพวกย่อมปรารถนา
      เปรียบได้ดัง  ผู้ปฏิบัติต้องทรงคุณสมบัติอันเทียบได้กับองค์คุณทั้ง  2  ของโภชนะนั้น คือ
                             1.  ต้องอุปถัมภ์หมู่สัตว์
                             2.  ต้องให้เกิดกำไร คือบุญกุศล
                              3.  ต้องเป็นผู้อันโลกทั้งปวงปรารถนา  
ดังเถรภาษิตที่  พระโมฆราช  กล่าวว่า  ผู้ปฏิบัติพึงเป็นผู้อันหมู่โลกปรารถนาด้วยความสำรวม  ความกำหนดศีล  และข้อปฏิบัติ








เพลง

วีดีโอตำนานแซนโฎนตา

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง
http://chairkan.com/board/?topic=570.0

http://watsampaoloon.com/index.php/2012-09-17-06-01-11/20-2012-09-21-07-04-48

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน




เสวนาโครงการ
"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน
                วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 12.30-16.30 พิพิธภัณฑ์ฯได้จัดงานเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" โดยวิทยากรคือ
คุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล


และคุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่า


ผู้เข้าร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้ ได้แก่คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นำโดย อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร










ความรู้ที่ได้รับในการเสวนาครั้งนี้  ได้แก่
วิทยากรท่านแรก คุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์
                ได้กล่าวถึงหญิงไทยตั้งแต่ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยา- สมัยสงครามโลกครั้งที่2
โดยมีสาระสำคัญ พอสรุปได้ คือ
                การเปลี่ยนผ่านท่านจะให้น้ำหนักในเรื่องของทางด้านสังคม เนื่องจากนับตั้งแต่การทำสงครามจารีต  เกิดการเคลื่อนย้ายกำลังคน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาบ้านเมืองแตก ผู้คนถูกจับเป็นเชลย บ้างก็หนีเข้าป่า การตั้งเมืองใหม่ในธนบุรี และรัตนโกสินทร์ การจะทำให้เกิดเมืองขึ้นได้ต้องเก็บคน เช่นในกรุงเทพมหานครจะพบ ชุมชนบ้านตะนาว ทวาย บ้านญวน มอญ ลาว ฯลฯ เมื่อมีการดึงคนเข้ามาแล้ว ก็เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ทำให้คนที่อยู่ต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมมีการปรับเปลี่ยน แต่ความพยายามถูกกระแสที่ใหญ่กว่าอย่างกระแสตะวันตกเข้ามามีบทบาท โดยกระแสตะวันตกในยุคแรกเข้ามาโดยการเดินเรือ และมีการรับเอาระบบทุนนิยมเข้ามา ทำให้มีการเปิดตลาดในช่วง ร.2-.3 มีการทำสนธิสัญญาขึ้นโดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
                ในสมัย ร.5 เปลี่ยนจากระบบ เวียง วัง คลัง นา เป็น กระทรวง ทบวง กรม และในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น พ..2435 เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศเรื่อยลงมาจนถึง พ..2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย
                ในยุคจารีตเริ่มตั้งแต่ยุคต้นกรุงเทพ คนที่จะมีชื่อบันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ ถ้าไม่ได้มีบทบาทในตัวบทกฎหมาย ก็มักจะเป็นชนชั้นสูง เช่น เรื่องราวของสมเด็จพระอัมริน กับเจ้าจอมแว่น ที่พบอยู่ในพงศาวดารกระซิบ หรือเรื่องราวของเจ้าฟ้าหญิงที่มีความสามารถต่างๆ เช่น ทำอาหาร ต้นแบบวีรสตรี เช่นเจ้าศรีอโนทา คุณหญิงจันทร์ คุณหญิงมุก เป็นต้น   แต่ส่วนใหญ่จะพบว่าบทบาทหลักๆของผู้หญิงสมัยก่อนส่วนมากก็มีหน้าที่ปรุงอาหาร และจัดการครอบครัว
                ส่วนบทบาทของผู้หญิงที่มีชื่อเสียงที่ไม่ใช่ชนชั้นสูง เช่น อำแดงป้อม เมื่อปี พ..2347 ที่เป็นคดีฟ้องหย่านายบุญศรี ตามกฎหมายบอกว่า หญิงย่าชายหย่าได้ แต่กรณีนี้อำแดงป้อมมีชู้ รัชกาลที่ 1 เห็นว่าการที่หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย และได้รับอนุญาตให้หย่าได้นี้ไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายชาย นำไปสู่การชำระสะสางกฎหมายเก่า หรือชำระกฎหมายตราสามดวงขึ้น และคดีอื่นอื่น เช่นอำแดงสาลักพาตัวอำแดงก่ำ คนใช้ของสนมวังหลวง นักเลงหญิงชื่อนวล เป็นต้น จะพบว่าหญิงไทยในยุคแรกร้ายทีเดียว ส่งผลให้มีการแต่งวรรณกรรมต่างๆ ที่สอนใจผู้หญิง เช่น สุภาษิตสอนหญิง กฤษณาสอนน้อง แม้กระทั่งพระอภัยมณีที่ยกย่องคนไม่สวยแต่นิสัยดี เป็นต้น
บทบาทของผู้หญิงในยุคกำลังสร้างเมือง ยุคที่หล่อหลอม ผู้หญิงมีบทบาทสูง เป็นคนกำหนดอะไรหลายๆอย่างปลาย ร.2-.3 เริ่มเข้าสู่ยุคการค้นพบใหม่ๆ การค้นคว้าใหม่ๆ เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อตะวันตกเข้ามาเจอการค้าของไทย ที่จะซื้อขายอะไรก็ต้องผ่านพระคลังสินค้า จึงบีบให้เกิดการค้าเสรีขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่เริ่มเข้ามา การค้าขายคับคั่งมาก และผู้ที่ทำการค้าส่วนใหญ่ก็คือ ผู้หญิง และเมื่อระบบเศรษฐกิจใหม่เข้ามาในสมัย ร.4 ส่งผลให้การทอผ้า ปักผ้า เริ่มค่อยๆหายไป แต่ในว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้างมากขึ้น เช่น มณฑปต่างๆ การเปลี่ยนผ่านยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ มีขนาดกว้าง ไม่ได้ต่อกันทันทีทันใด
               ในสมัย ร.5ท่านได้ทรงปรับเปลี่ยนการแต่งกาย และมีการพูดถึงบทบาทและผลงานของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี และพระองค์เจ้าสว่างวัฒนามากมาย เช่น พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาก็ทรงสนับสนุนงานหัตถกรรมของผู้หญิงมากมาย ส่วนพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีก็มีการศึกษาของสตรีมากขึ้น ในระดับของโรงเรียน ทำให้ผู้หญิงได้มีโอกาสเข้าเรียน เช่น โรงเรียนเสาวภา สุนันทาลัย  และมีโรงเรียนที่ให้ผู้หญิงมีอาชีพ เช่น โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์และการพยาบาล เป็นต้น ปี พ..2470 ผู้หญิงมีโอกาสได้เรียนแพทย์ ในช่วงแรกๆโอกาสที่ผู้หญิงจะเข้าไปอยู่ในวิชาชีพจะยังไม่ค่อยเปิดกว้าง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ในปัจจันจะมีผู้หญิงแทบทุกวิชาชีพ
                นอกจากนี้ในสมัย ร.6 ก็ได้มีการจดทะเบียนสมรสขึ้น เพื่อบ่งบอกสถานะของผู้หญิง และมีการเล่าเหตุการณ์ต่างๆในสมัย ร.7 และช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นโยบายสร้างชาติ หรือชาตินิยมมีความเข้มข้น มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศ ชื่อคน และมีการออกกฎระเบียบข้อบังคับ เช่นให้ใส่หมวก ห้ามกินหมาก เป็นต้น
                การฟังเสวนาจากคุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ทำให้ได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ที่ยังไม่เคยรู้ ทั้งเรื่องของผู้หญิงในอดีต เรื่องของชาววัง รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้ได้รู้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตสู่ปัจจุบันโดยเฉพาะบทบาทของสตรี
                                                      
ท่านที่สอง
                คุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี
ได้พูดในเรื่องของนิตยสารผู้หญิง ซึ่งเริ่มมีในช่วงที่สังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง ได้รับอารยธรรมตะวันตกเข้ามา โดยเกิดนิตยสารนารีรมณ์ขึ้นมา เป็นที่เกี่ยวกับผู้หญิงเล่มแรก เป็นนิตยสารที่ทำให้ผู้หญิงอ่าน ต้องการให้ความรู้ผู้หญิง โดยผู้ชายทำให้ส่วนใหญ่จะมีเรื่องอ่านเล่น กลอน นิยาย แต่หากเอาความหมายนิตยสารผู้หญิงในปัจจุบันเข้าไปจับ ถือว่ากุลสตรี เป็นนิตยสารผู้หญิงเล่มแรก ซึ่งจะมีเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิงโดยเฉพาะ มีหน้าที่ผู้หญิง เริ่มมีตั้งแต่สมัย ร.5
                ตั้งแต่สมัย ร.6-.7 เป็นช่วงที่นิตยสารผู้หญิงบูม มีความสนุก มีนิตยสารผู้หญิง 7-8 เล่ม นิตยสารผู้หญิงเหล่านี้จะประกาศชัดว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงที่ทำโดยผู้หญิง เพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ มีกระทั่งหนังสือพิมพ์รายวันใน ร.6 ชื่อหญิงไทย ที่ทำให้ผู้หญิงอ่าน ต้องการในหนังสือเล่มนี้ในช่วงนี้นิตยสารผู้หญิงจ จุดมุ่งหมายที่สำคัญ จะเป็นเนื้อหาที่เน้นสิทธิสตรี มีคอลัมภ์ข้อความที่ถกเถียงกัน บทบาท สมรรถภาพ สิทธิสตรี ภาพของนิตยสารผู้หญิงสมัยนี้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงมีการศึกษา และสนใจในเรื่องของสิทธิ บทบาท สมรรถภาพตัวเองมากขึ้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ชาย การเมือง
                นิตยสารผู้หญิง เริ่มหายในช่วงสงครามโลก ด้วยเศรษฐกิจไม่ดี แต่พอหลังสงครามโลกจึงได้เริ่มกลับมาอีกครั้ง พอเข้าปี 2500 บรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจ มีความเปลี่ยนแปลงสูง การเมืองมีความเข้มข้น ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์การเมืองได้ มีการจับกุมนักหนังสือพิมพ์ ในช่วงนี้จึงมีแต่เรื่องไร้สาระ เรื่องอ่านเล่น อาชญากรรม ข่าวซุบซิบ ข่าวทั่วไป

                ช่วงที่สหรัฐเข้ามามีบทบาท เข้ามาลงทุน ทำให้เศรษฐกิจช่วงนี้ดี นิตยสารจึงมีการแข่งขันกันโฆษณาสินค้าต่างๆมากมาย นิตยสารผู้หญิงจะมีความสวยความงาม มีคอลัมภ์ปรึกษาปัญหา ในช่วงนี้เริ่มมองว่าอารยธรรมตะวันตกเริ่มทำให้ผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี มีการถาม-ตอบปัญหาหัวใจ ปัญหาชีวิต เช่น ท้องก่อนแต่ง รักสามเศร้า เป็นต้น นวนิยายในยุคนั้นจะสะท้อนชีวิตผู้หญิงชัดเจน เช่น ผู้หญิงขม มีการตบตีกันแย่งความรัก ซึ่งนิตยสารในยุคนั้นก็เป็นรอยต่อมาจนถึงยุคนี้นิตยสารที่เลียนแบบต่างชาติ มีสายเส้น มีนิตยสารที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ มีผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศมากมาย ซึ่งนิตยสารเก่าๆสามารถหาอ่านได้ในหอสมุดแห่งชาติ



ภาพบรรยากาศในงาน