วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนรายงานที่ดี

ลักษณะของรายงานที่ดี
รายงานที่ดีควรมีลักษณะที่ดีดังนี้
1. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง กว้างขวาง และมีเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
2. มีความถูกต้องเที่ยงตรง และแม่นยำ
3. ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
4. ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่
5. แสดงว่าผู้เขียนมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่เขียน อาจจะเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้นให้กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป
6. มีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่
7. จัดเรียงลำดับของเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดก็มีหลักฐานอ้างอิงอย่างเพียงพอ สมเหตุสมผล ตลอดจนมีความสามารถในการกลั่นกรองและสรุปความรู้ความคิดได้จากแหล่งต่างๆ
8. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง
9. แสดงหลักฐานที่มาอย่างถูกต้องและละเอียดถี่ถ้วน
10. ใช้ภาษาได้ถูกต้องได้ผลตามจุดมุ่งหมาย และเป็นภาษาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป

การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน
ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ พึงระมัดระวังในเรื่องของการสะกด เครื่องหมาย การแบ่งวรรคตอน การจัดเรียงรูปประโยคที่ถูกต้อง หลักในการเขียนรายงาน สามารถสรุปได้ดังนี้

1. การใช้คำในภาษาไทย
 ใช้คำในภาษาราชการ ไม่ใช้ภาษาพูด และให้เป็นคำภาษาไทยมากที่สุด
 ใช้คำที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช้คำที่ต้องมีการแปลความหมายอีกครั้งหนึ่ง
 ในการอธิบายความต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายสอดคล้องตรงกับความเป็นจริง
 เลือกใช้คำที่มีความหมายชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด
 ไม่ใช้คำภาษาถิ่น คำผวน คำสแลง หากจำเป็นต้องใช้ต้องมีคำอธิบายกำกับ
 ไม่ใช้คำที่ไม่สื่อความหมาย
 ไม่ใช้คำย่อต้องเขียนเป็นคำเต็ม
 ไม่ใช้เครื่องหมายแทนคำพูด
 เมื่อต้องใช้ศัพท์ทางวิชาการ ควรเลือกใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน

2. การใช้คำในภาษาอังกฤษ
 ถ้าเป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในภาษาไทยอยู่แล้ว ให้เขียนเป็นภาษาไทยโดยไม่ต้องมีคำภาษาอังกฤษกำกับ

 ถ้าเป็นคำใหม่ ศัพท์บัญญัติ ศัพท์วิชาการที่เขียนศัพท์ในการใช้ครั้งแรกให้กำกับคำภาษาอังกฤษไว้ในวงเล็บ และไม่ต้องกำกับอีกเมื่อใช้ครั้งต่อไป

**********************************************************

หลักการเขียนรายงาน

ขั้นตอนที่ 1 การเลือกหัวข้อรายงาน หรือการเลือกเรื่อง
หัวข้อรายงาน จะได้มา 2 ทาง คือ

1.1 ผู้สอนกำหนด ซึ่งมักเป็นเรื่องที่ผู้สอนจะไม่สอนหรือบรรยายอย่างละเอียด ดังนั้นผู้สอนจึงมักแจ้งขอบข่ายเป้าหมายอย่างแจ้งชัด เพื่อมิให้ผู้เขียนทำผิด
1.2 ผู้เขียนกำหนดเอง กรณีเช่นนี้ ผู้เรียนควรเลือกหรือกำหนดหัวเรื่องโดยถือหลัก ดังนี้
         1.2.1 เลือกเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ มีพื้นฐานอยู่บ้าง และมีความต้องการจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
         1.2.2 เลือกเรื่องที่มีขอบเขตของเรื่องไม่กว้างขวางเกินไป หากเลือกเรื่องที่กว้างขวางเกินไปจะทำให้ เขียนรายงานไม่สมบูรณ์ เพราะไม่สามารถศึกษาในรายละเอียดหรือถ้าทำได้ก็ต้องใช้เวลานานและไม่จบในเวลาที่กำหนด ในทำนองกลับกันถ้าเลือกเรื่องขอบเขตของเรื่องแคบเกินไป ก็จะเกิดปัญหาไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเขียนได้ ดังนั้นควรกำหนดเรื่องที่มีขอบเขตพอเหมาะกับเวลาที่ผู้สอนกำหนด
          1.2.3 เรื่องที่เลือกควรจะต้องมีแหล่งสารนิเทศหรือแหล่งความรู้มากเพียงพอ สำหรับการค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อมูลสารนิเทศที่สมบูรณ์และเชื่อถือได้
          1.2.4 เรื่องที่เลือกควรมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อ่าน โดยปกติต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในรายวิชาที่เรียนหรือสัมพันธ์กับรายวิชาที่เขียน เมื่อเลือกหัวข้อรายงานได้แล้ว ควรจะกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของเรื่องที่ต้องการทำด้วยก่อนจะเขียนวัตถุประสงค์ควรตั้งคำถามถามตัวเองว่า ท่านกำลังจะเขียนเรื่องอะไร เพื่อประโยชน์อะไร คำตอบที่ได้ ก็คือวัตถุประสงค์ นำมาเขียนเรียงลำดับความสำคัญ เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ได้แล้ว ก็เป็นการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะทำขอบเขตของเรื่องนี้ จะต้องสอดคล้องและสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ได้
           สำหรับชื่อเรื่องรายงาน มีหลักเกณฑ์ คือ ควรเป็นชื่อที่ครอบคลุมขอบเขตเนื้อหารายงานที่กำหนดไว้ ไม่ยาวเกินไป และเป็นชื่อที่กระตุ้นหรือดึงดูดความสนใจของผู้อ่านด้วย


ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมบรรณานุกรม หรือการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
             เมื่อได้หัวข้อเรื่องแล้ว ก็ถึงขั้นสำรวจและรวบรวมแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการเขียน แหล่งความรู้ต่างๆ ได้แก่
                  2.1 หนังสือ เป็นแหล่งสารนิเทศที่ผู้ทำรายงานในสถาบันการศึกษาต่างๆ นิยมใช้มากที่สุด เพราะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งได้จัดหาไว้เป็นจำนวนมากกว่าสิ่งพิมพ์หรือวัสดุประเภทอื่น ในการค้นหาหนังสือนั้นผู้ทำรายงานจะต้องอาศัยเครื่องมือช่วยค้นที่เรียกว่าบัตรรายการ และบัตรที่เหมาะสมกับการใช้มากที่สุดก็คือ บัตรหัวเรื่อง เพราะบัตรหัวเรื่องจะรวบรวมหนังสือที่มีเนื้อหาเหมือนกันไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ทำรายงานสามารถรวบรวมหนังสือมาใช้ในการเขียนรายงานได้หลายเล่มหลายชื่อเรื่องภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน นอกจากนี้ในห้องสมุดที่มีบริการฐานข้อมูลหนังสือก็ยังสามารถรวบรวมรายการหนังสือโดยการสืบค้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
           2.2 วารสาร เป็นแหล่งสารนิเทศที่ให้ข้อมูลที่ทันสมัยมากกว่าหนังสือเสียอีก เพราะกำหนดออกเร็วกว่า ทำให้สามารถเผยแพร่ข้อมูลสารนิเทศใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว วารสารจึงเป็นสิ่งที่ผู้ทำรายงานควรจะต้องนำมาใช้ในการทำรายงาน และภาคนิพนธ์ทุกครั้งในการที่จะได้บทความจากวารสารมาเพื่อใช้ในการเขียนรายงานนั้น ผู้ทำรายงานจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่ห้องสมุดได้จัดทำไว้ ได้แก่ ดรรชนีวารสาร ซึ่งโดยทั่วไปจะทำในรูปแบบของบัตร 2 ประเภทคือ บัตรผู้แต่ง และบัตรหัวเรื่อง แต่บัตรที่เหมาะสมแก่การใช้ในขั้นนี้ก็คือ บัตรดรรชนีวารสารประเภทหัวเรื่อง ซึ่งจะช่วยรวบรวมบทความหลายบทความในวารสารต่างๆ ไว้ภายใต้หัวเรื่องที่ผู้เขียนรายงานต้องการ ห้องสมุดบางแห่งที่มีการจัดทำฐานข้อมูลวารสาร ก็จะให้บริการสืบค้นบทความที่ต้องการด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งก็ทำให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
          2.3 หนังสืออ้างอิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารานุกรม ซึ่งให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ผู้ทำรายงานควรจะให้ความสนใจเป็นอันดับแรกๆ ส่วนหนังสืออ้างอิงอื่นๆ ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เช่น พจนานุกรม อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ สมพัตรสร เป็นต้น
          2.4 หนังสือพิมพ์ เป็นแหล่งสารนิเทศที่ให้ข้อมูลด้านข่าวสารและบทความต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ผู้เขียนรายงานจึงควรจะให้ความสนใจในการเลือกข่าวสารและบทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อรายงาน มาเป็นประโยชน์ต่อการเขียนด้วยสำหรับการค้นหาข่าวหรือบทความจากหนังสือพิมพ์นั้น ห้องสมุดโดยทั่วไปมักจะไม่ทำดรรชนี ผู้ทำรายงานต้องเลือกค้นจากตัวเล่มเอง ในปัจจุบันห้องสมุดหลายแห่ง เช่น หอสมุดแห่งชาติ สำนักข่าวสารเพื่อการศึกษาและสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ เป็นต้น ได้จัดทำดรรชนีหนังสือพิมพ์ไว้สำหรับช่วยในการค้นคว้าแล้ว ส่วนห้องสมุดที่ไม่ได้ทำดรรชนีหนังสือพิมพ์ก็มักจะตัดข่าวสารหรือบทความที่น่าสนใจเก็บไว้ในรูปของกฤตภาค ช่วยให้ผู้ทำรายงานค้นหาบทความข่าวสารที่ตนต้องการได้ง่ายขึ้น
           2.5 จุลสารและกฤตภาค จุลสารเป็นแหล่งสารนิเทศที่ให้ความรู้เฉพาะเรื่องที่ทันสมัย มักจะจัดพิมพ์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีในจุลสาร ส่วนกฤตภาคก็คือบทความที่ตัดจากหนังสือพิมพ์หรือวารสารฉบับล่วงหน้า ห้องสมุดส่วนใหญ่จะจัดเก็บจุลสารและกฤตภาคไว้ในแฟ้ม และจัดเรียงแฟ้มเหล่านั้นตามลำดับหัวเรื่อง แล้วแขวนหรือเรียงไว้ในตู้เอกสารเพื่อให้ค้นคว้าได้ง่าย ส่วนเครื่องมือช่วยค้นก็มักจะทำเป็นบัตรโยงหัวเรื่องเรียงไว้ในตู้บัตรรายการหนังสือ
            2.6 โสตทัศนวัสดุ ความรู้บางอย่างอาจเก็บไว้ในรูปของโสตทัศนวัสดุ เช่น ไมโครฟิล์ม ภาพนิ่ง แถบบันทึกเสียง วีดีทัศน์ CD-ROM ชุดต่างๆ ความรู้เหล่านี้ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อรายงานก็จะเป็นประโยชน์ สามารถนำมาประกอบการเขียนรายงานได้
             2.7 วิทยากร ได้แก่ ผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้บรรยาย ผู้อภิปราย ซึ่งข้อมูลที่ได้อาจจะมีประโยชน์มาก และหาไม่ได้จากหนังสือหรือวารสารฉบับใด วิทยากรจัดเป็นแหล่งสารนิเทศประเภทบุคคล
                      เมื่อผู้เขียนรายงานรวบรวมแหล่งสารนิเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อรายงานได้อย่างเพียงพอแล้ว ต่อไปจะต้องนำมาอ่านคร่าวๆ เพื่อดูว่าเนื้อเรื่องในแหล่งสารนิเทศเหล่านั้นตรงกับความต้องการของตนหรือไม่ หรือถ้าเป็นโสตทัศนวัสดุก็ต้องฟังหรือดูว่ามีเนื้อเรื่องที่ตรงกับความต้องการมากน้อยเพียงไร ทั้งนี้เพื่อเป็นการคัดเลือกเฉพาะเอกสารหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการเขียนรายงานอย่างแท้จริงเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 3 การเขียนโครงเรื่อง
การเขียนโครงเรื่อง (Outlines) เป็นการเขียนโครงเรื่องขั้นต้นอย่างคร่าวๆ เพื่อเป็นการจัดลำดับการนำเสนออย่างเป็นระบบว่าหัวข้อใดควรมาก่อน หัวข้อใดควรมาหลัง ลักษณะโครงเรื่องจะคล้ายกับสารบัญ ประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ ที่แสดงความสำคัญมาก (หัวข้อใหญ่) และหัวข้อสำคัญรองลงมาตามลำดับ (หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย) โครงเรื่องที่ดี ต้องมีลักษณะดังนี้
3.1 หัวข้อต่างๆ ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน กล่าวคือ หัวข้อใหญ่สัมพันธ์กับหัวข้อหรือชื่อของรายงานหรือภาคนิพนธ์กับหัวข้อใหญ่
3.2 ชื่อหัวข้อ ควรกระทัดรัด ได้ใจความครอบคลุมเนื้อหาตอนนั้นโดยเฉพาะ
3.3 หัวข้อย่อย ไม่ควรแบ่งหลายชั้นเกินไป และต้องเป็นประโยชน์ในการเสนอ กระบวนความคิดและผลการค้นคว้า
3.4 โครงเรื่อง ควรจะเขียนอย่างเป็นระเบียบ สะดวกแก่การอ่าน และทำความเข้าใจ ทั้งนี้ใช้ตัวเลขและย่อหน้าให้พอเหมาะ กล่าวคือ หัวข้อที่มีความสำคัญเท่ากันจะต้องอยู่ตรงกันหรือย่อหน้าตรงกัน ใช้ตัวเลขแบบเดียวกัน หัวข้อย่อย ย่อหน้าลึกเข้าไปกว่าหัวข้อใหญ่
ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่อง (Outline) 
แบบที่ 1 โครงเรื่องที่มีแต่หัวข้อใหญ่ ไม่มีเลขหน้าหัวข้อใหญ่
ชื่อเรื่อง
บทนำ
หัวข้อใหญ่
หัวข้อใหญ่
หัวข้อใหญ่
หัวข้อใหญ่
บทสรุป
ตัวอย่าง
การทำนากุ้งในประเทศไทย
บทนำ
ประวัติ
ทำเล สถานที่
พันธุ์กุ้ง
วิธีการเลี้ยง
ต้นทุน ผลผลิต และรายได้
ปัญหาและแนวทางแก้ไข
บทสรุป
แบบที่ 2 โครงเรื่องที่มีหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง และมีเลขลำดับหัวข้อ
ชื่อรายงาน
1. บทนำ
2. หัวข้อใหญ่
2.1 หัวข้อรอง
2.2 หัวข้อรอง
3. หัวข้อใหญ่
3.1 หัวข้อรอง
3.2 หัวข้อรอง
4. หัวข้อใหญ่
4.1 หัวข้อรอง
4.2 หัวข้อรอง
5. บทสรุป
ตัวอย่าง
การทำนากุ้งในประเทศไทย
1. บทนำ
2. ประวัติ
3. ทำเล สถานที่
3.1 การเลือกทำเล
3.2 ลักษณะบ่อ (นา/ฟาร์ม) ที่ดี
4. วิธีการเลี้ยง
4.1 การเตรียมบ่อ
4.2 อุณหภูมิ
4.3 น้ำ
4.4 อาหาร
4.5 ศัตรูของกุ้ง 5. ต้นทุน ผลผลิต และรายได้
6. ปัญหาและแนวทางแก้ไข
7. บทสรุป
แบบที่ 3 โครงเรื่องที่แบ่งเป็นบทที่ มีเลขลำดับหัวข้อรอง หัวข้อย่อย หัวข้อย่อยที่สุด
ชื่อรายงาน

 1   .................................................................................................................................... (หัวข้อใหญ่)

      1.1 ................................................................................................................................(หัวข้อรอง)

         1.1.1  ........................................................................................................................ (หัวข้อย่อย)

            1.1.1.1 ................................................................................................................... (หัวข้อย่อยสุดท้าย)

            1.1.1.2 ................................................................................................................... (หัวข้อย่อยสุดท้าย)

         1.1.2  ........................................................................................................................ (หัวข้อย่อย)

             1.1.2.1  ................................................................................................................. (หัวข้อย่อยสุดท้าย)

             1.1.2.2  ................................................................................................................. (หัวข้อย่อยสุดท้าย)

      1.2  ...............................................................................................................................(หัวข้อรอง)

          1.2.1  ....................................................................................................................... (หัวข้อย่อย)

             1.2.1.1  ..................................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

             1.2.1.2  ..................................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

  2   .................................................................................................................................... (หัวข้อใหญ่)

       2.1  ..............................................................................................................................(หัวข้อรอง)

           2.1.1  .......................................................................................................................(หัวข้อย่อย)

              2.1.1.1  ................................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

              2.1.1.2   ...............................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

           2.1.2  ......................................................................................................................(หัวข้อย่อย)

              2.1.2.1  ................................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

              2.1.2.2  .............................................................................................................. (หัวข้อย่อยสุดท้าย)

       2.2  ............................................................................................................................ (หัวข้อรอง)

           2.2.1  ......................................................................................................................(หัวข้อย่อย)

              2.2.1.1  ...............................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

              2.2.1.2  ................................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

           2.2.2   .....................................................................................................................(หัวข้อย่อย)

               2.2.2.1  ...............................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)

               2.2.2.2  ...............................................................................................................(หัวข้อย่อยสุดท้าย)
อนึ่ง ตัวเลขกำกับหัวข้อและลักษณะย่อหน้าของโครงเรื่องนี้ นำไปใช้เขียนสารบัญและเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานหรือภาคนิพนธ์ด้วย
ตัวอย่าง
คู่มืองานเทคนิคสำหรับห้องสมุดโรงเรียน
บทที่

    1  บทนำ

                        1.1  วัตถุประสงค์

                        1.2  ขอบเขตของงานเทคนิคในห้องสมุดโรงเรียน

    2  การจัดหา

                        2.1  หนังสือ

                                             2.1.1  การซื้อ

                                             2.1.2  การขอและการรับบริจาค

                        2.2  วารสารและหนังสือพิมพ์

                                             2.2.1  วารสาร

                                             2.2.2  หนังสือพิมพ์

                        2.3  จุลสาร  และกฤตภาค

                                             2.3.1  จุลสาร

                                             2.3.2  กฤตภาค

    3  การดำเนินงานเกี่ยวกับหนังสือ

                        3.1  การวิเคราะห์หมวดหมู่และทำบัตรรายการ

                                             3.1.1  หนังสือสารคดี

                                             3.1.2  หนังสือแบบเรียนและหนังสือสำหรับครู

                                             3.1.3  หนังสืออ้างอิง

                                             3.1.4  หนังสือนวนิยาย

                                             3.1.5  หนังสือสำหรับเด็ก

                        3.2  การลงทะเบียน

                                             3.2.1  ขั้นตอนงาน

                                             3.2.2  ข้อสังเกต

                        3.3  การเตรียมออกบริการขั้นสุดท้าย

                                             3.3.1  การเจาะเย็บและเข้าเล่ม

                                             3.3.2  การพิมพ์บัตรหนังสือ-ซองบัตร

                                             3.3.3  การพิมพ์บัตรรายการ

                                             3.3.4  การผนึกซองบัตรและบัตรกำหนดส่ง

                                             3.3.5  การเขียนสันหนังสือ

                                             3.3.6  การเรียงบัตรรายการ

                        3.4  การดำเนินการซ่อมหนังสือ

                                             3.4.1  ซ่อมเล็กน้อย

                                             3.4.2  ซ่อมใหญ่

*********************************************************************************

ส่วนประกอบของรายงาน
รายงานที่ดีควรประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังนี้คือ ส่วนประกอบตอนต้น หรือส่วนนำส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย
1. ส่วนประกอบตอนต้น หรือส่วนนำ คือส่วนที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย ปกนอก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง บัญชีภาพประกอบ
2. ส่วนประกอบตอนกลาง หรือส่วนเนื้อเรื่อง คือส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนประกอบตอนต้นหรือส่วนนำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน เพราะจะครอบคลุมเนื้อเรื่องทั้งหมดของรายงานตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ หรือตามหัวข้อที่แจ้งไว้ในสารบัญ
3. ส่วนประกอบตอนท้าย คือส่วนเพิ่มเติมให้ทราบถึงความพยายามหรือแนวค้นคว้าของผู้จัดทำรายงาน ตลอดจนส่วนที่จะช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้ประโยชน์จากรายงานสามารถตรวจสอบค้นคว้าเพิ่มเติม

1. ส่วนประกอบตอนต้น
           1.1 ปกหรือปกนอก คือ ส่วนที่หุ้มห่อรายงาน ทำให้รูปเล่มของรายงานแข็งแรงแลดูเรียบร้อย ถ้าสถานศึกษาใดมีปกรายงานจำหน่ายนักศึกษาจะใช้ปกเหล่านั้นก็ได้หรือถ้านักศึกษาทำปกรายงานด้วยตนเอง ก็สามารถทำได้โดยใช้กระดาษสีน้ำตาล หรือกระดาษโปสเตอร์สี พิมพ์ข้อความและวางรูปแบบหน้าปกในทุกประการ 
            1.2 ใบรองปก มีทั้งรองปกหน้าและใบรองปกหลัง เป็นกระดาษเปล่า
            1.3 หน้าปกใน คือ หน้าแรกที่ถัดจากปกนอก การเขียนหรือพิมพ์หน้าปกในจะประกอบด้วยข้อความตามลำดับต่อไปนี้
                1.3.1 ชื่อเรื่องของรายงานหรือภาคนิพนธ์ การเขียนชื่อเรื่องนี้ให้เขียนด้วยตัวบรรจง อ่านง่ายหรือจะใช้พิมพ์ดีดก็ได้ ให้ชื่อเรื่องอยู่ตรงกลางโดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านซ้ายมือและขวามือให้เท่ากัน และห่างจากขอบบน 2 นิ้ว ถ้าชื่อเรื่องยาวมากให้จัดข้อความเป็น 2 หรือ 3 บรรทัด เป็นรูปหน้าจั่ว จัดข้อความตัดตอนแต่ละบรรทัดให้เหมาะสมดังตัวอย่าง

บทบาทของคณะกรรมการกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
ตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนและผู้ช่วย
ในเขตการศึกษา 1

ถ้าเป็นรายงานภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์หรือเขียนชื่อรายงานด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
                                1.3.2 ชื่อผู้เขียนรายงาน ชื่อผู้เขียนรายงานนี้ให้เขียนเฉพาะชื่อไม่ต้องเขียนคำนำหน้านาม เช่น นาย นาง นางสาว ยกเว้นในกรณีที่ผู้เขียนรายงานมียศ บรรดาศักดิ์ เช่น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือ ส.อ.สมเกียรติ ผ่องแผ้ว เช่นนี้ ให้ใส่ยศ บรรดาศักดิ์ไปด้วย ถ้าแบ่งกระดาษหน้าปกออกเป็น 3 ส่วน ชื่อผู้เขียนรายงานอยู่ตรงกลางกระดาษ และเว้นระยะซ้ายขวาจากขอบกระดาษให้ห่างเท่าๆ กันเช่นเดียวกับชื่อเรื่อง
                ในกรณีที่ผู้ร่วมทำรายงานหลายคน ให้เขียนชื่อเรื่องตามลำดับอักษรของผู้เขียนรายงานแต่ละคน เช่น
กนกพร ประชิด
ประทีป กัลยา
ยุพดี วิเชษฐ์พันธ์
สมจิต ประชา
                   ถ้ารายงานนั้นทำเป็นกลุ่มหรือคณะ ให้เขียนชื่อกลุ่มเรียนแทนที่จะต้องเขียนชื่อนักศึกษาทั้งหมด เช่น นักศึกษากลุ่มพัฒนาการเด็ก
                                1.3.3 ข้อความเกี่ยวกับรายละเอียดของวิชาที่ศึกษา ประกอบด้วยข้อความแจ้งว่าเป็นรายงานในวิชาอะไร สถานศึกษาใด ภาคเรียนที่เท่าใด และปีการศึกษาใด
ข้อความส่วนที่สามนี้ บรรทัดสุดท้ายที่เขียนจะต้องห่างจากขอบล่าง 1 นิ้วเสมอ
ถ้าเป็นรายงานภาษาอังกฤษ ข้อความส่วนนี้ให้ใช้ด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก ยกเว้นอักษรตัวแรกของข้อความของชื่อวิชา ชื่อสถานศึกษา และชื่อภาคเรียน


 


                             1.4 หน้าคำนำ คือ หน้าที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนรายงาน รวมทั้งความสำคัญและขอบเขตของเนื้อหาด้วย นอกจากนี้อาจกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในการทำรายงานหรือภาคนิพนธ์ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เมื่อเขียนจบแล้วให้ลงชื่อผู้เขียนรายงาน วัน เดือน ปี ด้วย
              สำหรับการเขียนนั้นคำว่า คำนำ ให้เขียนกึ่งกลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบบน นิ้ว และเนื้อหาของคำนำให้เขียนต่อจากคำนำให้เขียนต่อจากคำนำ บรรทัด บรรทัดพิมพ์เดี่ยวหรือ 1/2 นิ้ว โดยก่อนเขียนเนื้อหาของคำนำให้เว้นระยะกระดาษจากขอบซ้ายมือ 1 1/2 นิ้ว ขวามือ นิ้ว เป็นกรอบสำหรับเขียนเนื้อเรื่องของคำนำ บรรทัดแรกของเนื้อเรื่อง ย่อหน้านับจากขอบซ้ายเข้ามา ช่วงตัวอักษร
สำหรับรายงานอักษรภาษาอังกฤษนั้นให้เลือกใช้คำว่า Preface หรือ Forward อย่างใดอย่างหนึ่ง


1.5 สารบาญหรือสารบัญ คือ บัญชีบทต่างๆ เรียงตามลำดับที่ปรากฏในเนื้อเรื่องพร้อมทั้งแจ้งเลขหน้าที่เริ่มบทนั้นๆ ด้วย มีระยะการเขียนเช่นเดียวกับคำนำ ถ้าในแต่ละบทมีหัวเรื่องใหญ่ ให้เขียนหัวเรื่องนั้นลงต่อจากบทที่ โดยย่อหน้าเข้าไปอีก 3 ช่วงตัวอักษรเสมอ ลำดับหัวข้อย่อยมากๆ นั้นไม่จำเป็นต้องใส่ในสารบัญ ระหว่างหัวเรื่องและเลขหน้าจะทำจุดไข่ปลาโยงหากันก็ทำให้ดูง่าย
                1.6 สารบัญตาราง ถ้ารายงานมีตารางแสดงประกอบต้องทำบัญชีตารางไว้ต่างหาก โดยจัดเรียงไว้ต่อจากสารบาญ ประกอบด้วยรายการตารางและเลขหน้า การขึ้นต้นเขียนคำว่า สารบัญตารางเว้นระยะเช่นเดียวกับหน้า สารบาญ
                1.7 สารบัญภาพประกอบและแผนภูมิ ทำเช่นเดียวกับบัญชีตาราง โดยจัดเรียงไว้ต่อจากสารบัญตาราง


รูปแบบหน้าสารบัญสำหรับรายงานที่ไม่ได้แยกเป็นบท
แบบที่ 1 มีเฉพาะหัวข้อใหญ่และไม่มีหลายเลขหน้าหัวข้อใหญ่
สารบัญ
หน้า
คำนำ
บทนำ
หัวข้อใหญ่
หัวข้อใหญ่
หัวข้อใหญ่หัวข้อใหญ่บทสรุปบรรณานุกรมภาคผนวก
ตัวอย่าง

สารบัญ                                                                                                                                      หน้า




คำนำ

บทนำ
                                                                                                           (ก)
ประวัติความเป็นมา
1
ทำเลสถานที่
3
พันธุ์กุ้ง
9
วิธีการเลี้ยงกุ้ง
14
ต้นทุน ผลผลิต รายได้
18
ปัญหาและแนวทางแก้ไข
23
บทสรุป
29
บรรณานุกรม
31
ภาคผนวก
33


               





รูปแบบหน้าสารบัญสำหรับเนื้อหาของรายงานหรือภาคนิพนธ์ที่แยกเป็นบท
แบบที่ 2 แบบมีเลขหน้าบทที่ หัวข้อรอง และหัวข้อย่อย
สารบัญ
หน้า
คำนำ ................................................................................................................................................................

บทที่

   1  บทนำ .........................................................................................................................................................

      1.1  หัวเรื่องรอง ..........................................................................................................................................

        1.1.1  หัวเรื่องย่อย .....................................................................................................................................

        1.1.2  หัวเรื่องย่อย ....................................................................................................................................

      1.2  หัวเรื่องรอง  ........................................................................................................................................

        1.2.1  หัวเรื่องย่อย  ...................................................................................................................................

        12.2  หัวเรื่องย่อย  ....................................................................................................................................

   2  หัวข้อใหญ่ ..................................................................................................................................................

      2.1  หัวข้อรอง ............................................................................................................................................

        2.1.1  หัวข้อย่อย .......................................................................................................................................

        2.1.2  หัวข้อย่อย .......................................................................................................................................

      2.2  หัวข้อรอง ............................................................................................................................................

        2.2.1  หัวข้อย่อย  ......................................................................................................................................

        22.2  หัวข้อย่อย  .......................................................................................................................................

   3  บทสรุป ......................................................................................................................................................

   บรรณานุกรม...................................................................................................................................................

   ภาคผนวก ........................................................................................................................................................


ตัวอย่างหน้าสารบัญ สำหรับเนื้อหาของรายงานที่แยกเป็นบท
แบบมีเลขหน้าบทที่ หัวข้อรองและหัวข้อย่อย
สารบัญ
คำนำ ........................................................................................................................................................... (ก)

บทที่

             1  บท นำ......................................................................................................................................................... 1

                    1.1  วัตถุประสง........................................................................................................................... 1

                    1.2  ขอบเขตของงานเทคนิคในห้องสมุดโรงเรียน ...................................................................... 2

งานจัดทำ .................................................................................................................................................. 4

                    2.1  หนังสือ ..............................................................................................................................5

                                         การซื้อ .................................................................................................................... 6

                                         การขอและการรับบริจาค ...................................................................................... 10

                    2.2  วารสารและหนังสือพิมพ์ ................................................................................................ 12

                                         วารสาร .............................................................................................................. …12

                                         หนังสือพิมพ์ .......................................................................................................... 16

                    2.3  จุลสารและกฤตภาค ........................................................................................................ 17

                                         จุลสาร .................................................................................................................. 17

                                        กฤตภาค ............................................................................................................... 19

     บรรณานุกรม.....................................................................................................................................23

    ภาคผนวก ....................................................................................................................................24


*****************************************************************

2. ส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา
2.1 ส่วนที่เป็นเนื้อหา เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเนื้อหาของเรื่องแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บทนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และบทสรุป การเขียนหรือพิมพ์เนื้อเรื่อง
                                2.1.1 ชื่อบท เขียนหรือพิมพ์ให้อยู่กึ่งกลางกระดาษห่างจากขอบบน 2 นิ้ว
                                2.1.2 เนื้อเรื่องปกติ ในแต่ละหน้าข้อความที่เขียนหรือพิมพ์ต้องอยู่ในกรอบดังนี้
                                                2.1.2.1 จากขอบกระดาษด้านบน ถึงอักษรบรรทัดแรกห่างลงมา 1 1/2 นิ้ว
                                                2.1.2.2 จากขอบกระดาษด้านซ้ายมือ ถึงอักษรตัวแรกในข้อความที่ไม่ได้ย่อหน้าให้ห่างเข้ามา 1 1/2 นิ้ว
                                                2.1.2.3 จากขอบกระดาษด้านขวามือ ถึงอักษรตัวสุดท้ายของแต่ละบรรทัดห่าง 1 นิ้ว
                                                 2.1.2.4 จากขอบกระดาษด้านล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของแต่ละหน้าห่างขึ้นไป 1 นิ้ว
                                2.1.3 การย่อหน้า เว้นจากกรอบมีกำหนดเข้ามา 7 ช่วงตัวอักษร
                                2.1.4 หัวเรื่องใหญ่ อยู่ชิดกรอบ คือ ห่างจากขอบด้านซ้าย 1 1/2 นิ้ว หัวข้อย่อยต่อๆ ไป เว้นครั้งละ 3 ช่วงตัวอักษร การเขียนหรือพิมพ์หัวข้อย่อย ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ ใช้ตัวอักษรสลับตัวเลข หรือใช้ตัวเลขกำกับอย่างเดียว ดังตัวอย่าง

แบบตัวอักษรสลับกับตัวเลข
 1 / / .......

  ก) / / .......

                                             1) / /.......

                                                      (ก) / / .......

                                                     (ข) / / .......

                                             2) / / .......

                                                       (ก)/ / .......

                                                       (ข)/ / .......

                        ข)/ / .......

                                             1) / / .......

                                             2) / / .......

  2 / /.......

แบบใช้ตัวเลขกำกับอย่างเดียว
หัวข้อใหญ่
 / / / / / / / 1./ / .......

                          1.1/ / .......

                                               1.1.1/ / .......

                                                                   1.1.1.1/ / .......

                                                                                       1.1.1.1.1/ / .....

                                                                                       1.1.1.1.2/ / .....

                                                                   1.1.1.2/ / .......

                                               1.1.2/ / .......

                          1.2/ / .......

                           2./ / .......


                2.2 ส่วนประกอบเนื้อหา เช่น อัญประภาษ เชิงอรรถ ตามรางภาพประกอบ
อัษประภาษ คือ ข้อความที่คัดลอกมาจากของผู้อื่นนำมาลงไว้ในรายงานโดยไม่เปลี่ยนแปลง
เชิงอรรถ คือ ข้อความที่มีไว้ใช้แจ้งที่มาของข้อความในเรื่องหรืออธิบายข้อความบางตอนในตัวเรื่องที่เรียบเรียงไว้ในหน้าเดียวกัน ทั้งที่ยกมาโดยตรงและที่ประมวลความคิดเอามา เมื่อผู้เขียนเห็นว่าคำชี้แจงนั้นหากแทรกอยู่ในตัวเรื่องแล้ว จะทำให้ข้อความในตอนนั้นเสียไปหรือเกิดความสับสนได้
ตาราง เป็นการรวบรวมสิ่งที่ได้จากการศึกษาในรูปที่ย่นย่อแล้วนำมาบรรจุในรายการ ตารางนี้เป็นหลักฐานแสดงแก่ผู้อ่านช่วยให้เข้าใจข้อเท็จจริงที่กล่าวไว้ในเรื่อง
ภาพประกอบ หมายรวมถึง ภาพถ่าย ภาพเขียน แผนที่ แผนผัง ฯลฯ เพื่อช่วยให้อ่านเข้าใจเนื้อหาดียิ่งขึ้น


        

*********************************************************************************

3. ส่วนประกอบตอนท้าย
3.1 บรรณานุกรม อยู่ถัดจากเนื้อเรื่อง บรรณานุกรมเป็นรายชื่อเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนใช้ค้นคว้าหาข้อมูลในการเขียนรายงานดังกล่าว

(แบบของหน้าบรรณานุกรม)
บรรณานุกรม



(ตัวอย่างหน้าบรรณานุกรม)
บรรณานุกรม
กิตติ บุษปวณิช. โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ซัมเมอร์ฮิลแห่งไทรโยคเพื่อนเดินทาง .3 (กรกฎาคม 2525) : 35-39
แก้ว. ชีวิตน้อยๆ กับเสรีภาพในโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก, ” มิสส์ . 81 (เมษายน 2525) : 15-23.
เจษณี ชวลิต. เยี่ยมโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก : ซัมเมอร์ฮิลเมืองไทย, ” ขวัญเรือน . 278 (ปักษ์แรก กรกฎาคม 2526) : 28-30.
นันธิยา. โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก สำหรับเด็กกำพร้าและยากจน, ” สกุลไทย . 28 (23 มิถุนายน 2535) : 41-45.
นิล, เอ เอส . ชีวิต, เสรีภาพ, ซัมเมอร์ฮิล . แปลโดย เตือนตา สุวรรณจินดา, สมบูรณ์ ศุภศิลป์ และนักแปลนิรนาม. 
_ _ _ _ _ _. เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ . แปลโดย วิศิษฐ์ วังวิญญู และสมบัติ พิศสะอาด, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเด็ก
บทสัมภาษณ์ : พุม่วง วี.เอส. ซัมเมอร์ฮิล, ” คุรุปริทัศน์ . 7 (มกราคม 2525) : 25-28.
ประเวศ วะสี. พุทธธรรมกับสังคม, ” หมอชาวบ้าน . 3(กรกฎาคม 2524) : 9-12.
พันตา. โรงเรียนประชาธิปไตยแห่งแรก, ” ดิฉัน . 5 (25 กุมภาพันธ์ 2524) : 26-30.
พิภพ ธงไชย, บรรณาธิการ. ชีวิตจริงที่หมู่บ้านเด็ก . กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเด็ก, 2526.
ภาพพิมพ์. โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก : ซัมเมอร์ฮิลไทรโยค, ” มาตุภูมิ . (19 กันยายน 2524) : 5.
มนตรี มีลำใย. อีกครั้งสำหรับซัมเมอร์ฮิล (โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก), ” วารสารการศึกษา แห่งชาติ. 17 (มิถุนายน-
รายการชีพจรลงเท้า : โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก. สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7, 27 กุมภาพันธ์ 2526.
แสงสุรีย์. วิจารณ์เรียนตามสบายที่ซัมเมอร์ฮิล, ” คุรุปริทัศน์ . 3 (กุมภาพันธ์ 2521) : 25-28
อารมณ์ เสรีภาพและความรักของเด็ก, ” ลูกรัก . 4 (พฤษภาคม 2525) : 30-33.
Poonsri Varakakul. “Where Children Learn at Their Own Pace, “ Bangkok Post . (April 29,

3.2 ภาคผนวก คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มไว้ตอนท้ายของรายงาน เพราะเป็นส่วนที่ไม่ใช่เนื้อเรื่องที่ต้องการเขียนรายงานโดยตรง แต่เห็นว่ามีประโยชน์ถ้านำมาเขียนลงข้างท้ายจะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ตารางสูตร คำอธิบายศัพท์เฉพาะหรืออภิปรายศัพท์ เป็นต้น ภาคผนวกนี้ต้องจัดเรียงไว้ต่อจากบรรณานุกรม
รายงานหรือภาคนิพนธ์ทุกฉบับ ไม่จำเป็นต้องมีส่วนประกอบครบถ้วนตามที่กล่าวมาแล้ว แต่อย่างน้อยควรมีปกนอก ปกใน คำนำ สารบาญ เนื้อเรื่อง เชิงอรรถ และบรรณานุกรม




อ้างอิง
www.tatc.ac.th/files/08122511113930_11061514144807.doc
http://courseware.rmutl.ac.th/courses/48/unit1202.htm
http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit6_part16.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น