วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

เสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน




เสวนาโครงการ
"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน
                วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2556 เวลา 12.30-16.30 พิพิธภัณฑ์ฯได้จัดงานเสวนาโครงการ "หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน" โดยวิทยากรคือ
คุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ หัวหน้าหอจดหมายเหตุศิริราชพยาบาล


และคุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารลิซ่า


ผู้เข้าร่วมฟังเสวนาในครั้งนี้ ได้แก่คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นำโดย อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร










ความรู้ที่ได้รับในการเสวนาครั้งนี้  ได้แก่
วิทยากรท่านแรก คุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์
                ได้กล่าวถึงหญิงไทยตั้งแต่ช่วงการเสียกรุงศรีอยุธยา- สมัยสงครามโลกครั้งที่2
โดยมีสาระสำคัญ พอสรุปได้ คือ
                การเปลี่ยนผ่านท่านจะให้น้ำหนักในเรื่องของทางด้านสังคม เนื่องจากนับตั้งแต่การทำสงครามจารีต  เกิดการเคลื่อนย้ายกำลังคน เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาบ้านเมืองแตก ผู้คนถูกจับเป็นเชลย บ้างก็หนีเข้าป่า การตั้งเมืองใหม่ในธนบุรี และรัตนโกสินทร์ การจะทำให้เกิดเมืองขึ้นได้ต้องเก็บคน เช่นในกรุงเทพมหานครจะพบ ชุมชนบ้านตะนาว ทวาย บ้านญวน มอญ ลาว ฯลฯ เมื่อมีการดึงคนเข้ามาแล้ว ก็เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ทำให้คนที่อยู่ต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมมีการปรับเปลี่ยน แต่ความพยายามถูกกระแสที่ใหญ่กว่าอย่างกระแสตะวันตกเข้ามามีบทบาท โดยกระแสตะวันตกในยุคแรกเข้ามาโดยการเดินเรือ และมีการรับเอาระบบทุนนิยมเข้ามา ทำให้มีการเปิดตลาดในช่วง ร.2-.3 มีการทำสนธิสัญญาขึ้นโดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
                ในสมัย ร.5 เปลี่ยนจากระบบ เวียง วัง คลัง นา เป็น กระทรวง ทบวง กรม และในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น พ..2435 เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศเรื่อยลงมาจนถึง พ..2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย
                ในยุคจารีตเริ่มตั้งแต่ยุคต้นกรุงเทพ คนที่จะมีชื่อบันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ ถ้าไม่ได้มีบทบาทในตัวบทกฎหมาย ก็มักจะเป็นชนชั้นสูง เช่น เรื่องราวของสมเด็จพระอัมริน กับเจ้าจอมแว่น ที่พบอยู่ในพงศาวดารกระซิบ หรือเรื่องราวของเจ้าฟ้าหญิงที่มีความสามารถต่างๆ เช่น ทำอาหาร ต้นแบบวีรสตรี เช่นเจ้าศรีอโนทา คุณหญิงจันทร์ คุณหญิงมุก เป็นต้น   แต่ส่วนใหญ่จะพบว่าบทบาทหลักๆของผู้หญิงสมัยก่อนส่วนมากก็มีหน้าที่ปรุงอาหาร และจัดการครอบครัว
                ส่วนบทบาทของผู้หญิงที่มีชื่อเสียงที่ไม่ใช่ชนชั้นสูง เช่น อำแดงป้อม เมื่อปี พ..2347 ที่เป็นคดีฟ้องหย่านายบุญศรี ตามกฎหมายบอกว่า หญิงย่าชายหย่าได้ แต่กรณีนี้อำแดงป้อมมีชู้ รัชกาลที่ 1 เห็นว่าการที่หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่าชาย และได้รับอนุญาตให้หย่าได้นี้ไม่เป็นธรรมต่อฝ่ายชาย นำไปสู่การชำระสะสางกฎหมายเก่า หรือชำระกฎหมายตราสามดวงขึ้น และคดีอื่นอื่น เช่นอำแดงสาลักพาตัวอำแดงก่ำ คนใช้ของสนมวังหลวง นักเลงหญิงชื่อนวล เป็นต้น จะพบว่าหญิงไทยในยุคแรกร้ายทีเดียว ส่งผลให้มีการแต่งวรรณกรรมต่างๆ ที่สอนใจผู้หญิง เช่น สุภาษิตสอนหญิง กฤษณาสอนน้อง แม้กระทั่งพระอภัยมณีที่ยกย่องคนไม่สวยแต่นิสัยดี เป็นต้น
บทบาทของผู้หญิงในยุคกำลังสร้างเมือง ยุคที่หล่อหลอม ผู้หญิงมีบทบาทสูง เป็นคนกำหนดอะไรหลายๆอย่างปลาย ร.2-.3 เริ่มเข้าสู่ยุคการค้นพบใหม่ๆ การค้นคว้าใหม่ๆ เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อตะวันตกเข้ามาเจอการค้าของไทย ที่จะซื้อขายอะไรก็ต้องผ่านพระคลังสินค้า จึงบีบให้เกิดการค้าเสรีขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่เริ่มเข้ามา การค้าขายคับคั่งมาก และผู้ที่ทำการค้าส่วนใหญ่ก็คือ ผู้หญิง และเมื่อระบบเศรษฐกิจใหม่เข้ามาในสมัย ร.4 ส่งผลให้การทอผ้า ปักผ้า เริ่มค่อยๆหายไป แต่ในว่ามีการสร้างสิ่งก่อสร้างมากขึ้น เช่น มณฑปต่างๆ การเปลี่ยนผ่านยุคหัวเลี้ยวหัวต่อ มีขนาดกว้าง ไม่ได้ต่อกันทันทีทันใด
               ในสมัย ร.5ท่านได้ทรงปรับเปลี่ยนการแต่งกาย และมีการพูดถึงบทบาทและผลงานของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี และพระองค์เจ้าสว่างวัฒนามากมาย เช่น พระองค์เจ้าสว่างวัฒนาก็ทรงสนับสนุนงานหัตถกรรมของผู้หญิงมากมาย ส่วนพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีก็มีการศึกษาของสตรีมากขึ้น ในระดับของโรงเรียน ทำให้ผู้หญิงได้มีโอกาสเข้าเรียน เช่น โรงเรียนเสาวภา สุนันทาลัย  และมีโรงเรียนที่ให้ผู้หญิงมีอาชีพ เช่น โรงเรียนหญิงแพทย์ผดุงครรภ์และการพยาบาล เป็นต้น ปี พ..2470 ผู้หญิงมีโอกาสได้เรียนแพทย์ ในช่วงแรกๆโอกาสที่ผู้หญิงจะเข้าไปอยู่ในวิชาชีพจะยังไม่ค่อยเปิดกว้าง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ในปัจจันจะมีผู้หญิงแทบทุกวิชาชีพ
                นอกจากนี้ในสมัย ร.6 ก็ได้มีการจดทะเบียนสมรสขึ้น เพื่อบ่งบอกสถานะของผู้หญิง และมีการเล่าเหตุการณ์ต่างๆในสมัย ร.7 และช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ที่นโยบายสร้างชาติ หรือชาตินิยมมีความเข้มข้น มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศ ชื่อคน และมีการออกกฎระเบียบข้อบังคับ เช่นให้ใส่หมวก ห้ามกินหมาก เป็นต้น
                การฟังเสวนาจากคุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ ทำให้ได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ที่ยังไม่เคยรู้ ทั้งเรื่องของผู้หญิงในอดีต เรื่องของชาววัง รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทำให้ได้รู้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตสู่ปัจจุบันโดยเฉพาะบทบาทของสตรี
                                                      
ท่านที่สอง
                คุณพิมพ์ฤทัย ชูแสงศรี
ได้พูดในเรื่องของนิตยสารผู้หญิง ซึ่งเริ่มมีในช่วงที่สังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง ได้รับอารยธรรมตะวันตกเข้ามา โดยเกิดนิตยสารนารีรมณ์ขึ้นมา เป็นที่เกี่ยวกับผู้หญิงเล่มแรก เป็นนิตยสารที่ทำให้ผู้หญิงอ่าน ต้องการให้ความรู้ผู้หญิง โดยผู้ชายทำให้ส่วนใหญ่จะมีเรื่องอ่านเล่น กลอน นิยาย แต่หากเอาความหมายนิตยสารผู้หญิงในปัจจุบันเข้าไปจับ ถือว่ากุลสตรี เป็นนิตยสารผู้หญิงเล่มแรก ซึ่งจะมีเรื่องที่เกี่ยวกับผู้หญิงโดยเฉพาะ มีหน้าที่ผู้หญิง เริ่มมีตั้งแต่สมัย ร.5
                ตั้งแต่สมัย ร.6-.7 เป็นช่วงที่นิตยสารผู้หญิงบูม มีความสนุก มีนิตยสารผู้หญิง 7-8 เล่ม นิตยสารผู้หญิงเหล่านี้จะประกาศชัดว่าเป็นนิตยสารผู้หญิงที่ทำโดยผู้หญิง เพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ มีกระทั่งหนังสือพิมพ์รายวันใน ร.6 ชื่อหญิงไทย ที่ทำให้ผู้หญิงอ่าน ต้องการในหนังสือเล่มนี้ในช่วงนี้นิตยสารผู้หญิงจ จุดมุ่งหมายที่สำคัญ จะเป็นเนื้อหาที่เน้นสิทธิสตรี มีคอลัมภ์ข้อความที่ถกเถียงกัน บทบาท สมรรถภาพ สิทธิสตรี ภาพของนิตยสารผู้หญิงสมัยนี้ สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงมีการศึกษา และสนใจในเรื่องของสิทธิ บทบาท สมรรถภาพตัวเองมากขึ้น มีการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ชาย การเมือง
                นิตยสารผู้หญิง เริ่มหายในช่วงสงครามโลก ด้วยเศรษฐกิจไม่ดี แต่พอหลังสงครามโลกจึงได้เริ่มกลับมาอีกครั้ง พอเข้าปี 2500 บรรยากาศทางการเมือง เศรษฐกิจ มีความเปลี่ยนแปลงสูง การเมืองมีความเข้มข้น ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์การเมืองได้ มีการจับกุมนักหนังสือพิมพ์ ในช่วงนี้จึงมีแต่เรื่องไร้สาระ เรื่องอ่านเล่น อาชญากรรม ข่าวซุบซิบ ข่าวทั่วไป

                ช่วงที่สหรัฐเข้ามามีบทบาท เข้ามาลงทุน ทำให้เศรษฐกิจช่วงนี้ดี นิตยสารจึงมีการแข่งขันกันโฆษณาสินค้าต่างๆมากมาย นิตยสารผู้หญิงจะมีความสวยความงาม มีคอลัมภ์ปรึกษาปัญหา ในช่วงนี้เริ่มมองว่าอารยธรรมตะวันตกเริ่มทำให้ผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี มีการถาม-ตอบปัญหาหัวใจ ปัญหาชีวิต เช่น ท้องก่อนแต่ง รักสามเศร้า เป็นต้น นวนิยายในยุคนั้นจะสะท้อนชีวิตผู้หญิงชัดเจน เช่น ผู้หญิงขม มีการตบตีกันแย่งความรัก ซึ่งนิตยสารในยุคนั้นก็เป็นรอยต่อมาจนถึงยุคนี้นิตยสารที่เลียนแบบต่างชาติ มีสายเส้น มีนิตยสารที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ มีผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศมากมาย ซึ่งนิตยสารเก่าๆสามารถหาอ่านได้ในหอสมุดแห่งชาติ



ภาพบรรยากาศในงาน


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น